ข้อมูลล่าสุด

ชุดอุปกรณ์ตรวจวัดความเครียดและสุขภาพหลอดเลือด

                               


 

 

                         ชุดอุปกรณ์ตรวจวัดความเครียดและสุขภาพหลอดเลือด

 

๑.      รายละเอียดของชุดอุปกรณ์ตรวจวัดความเครียดและสุขภาพหลอดเลือด จำนวน ๑ ชุด ประกอบด้วย

๑.๑   เครื่องตรวจวัดความแปรปรวนของการเต้นของหัวใจ ยี่ห้อ Medicore รุ่น Max Pulse จำนวน ๑ เครื่อง

๒.   คุณลักษณะทั่วไป

๒.๑    เครื่องตรวจวัดความแปรปรวนการเต้นของหัวใจ รุ่น Max Pulse

               ๒.๑.๑  ขนาดเครื่อง (กว้างxลึกxสูง)  :  ๑๕๐x๑๓๕x๓๕ มม.

๒.๑.๒  ชนิดของ probe เป็น Finger Probe (PPG Probe)

๒.๑.๓  โปรแกรม Max Pulse General Software  ทำงานบนระบบ Microsoft Windows OS

·        สามารถแสดงผลได้ ๗ ภาษา ได้แก่ ไทย อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เยอรมันและสเปน 

·        ช่วงค่าการตรวจวัด (Heart Rate Measurement Range)  :  ๓๐-๒๐๐ bpm (+ bpm)

·        สามารถเลือกตรวจโดยใช้ค่าอ้างอิงแบบ  Eastern หรือ Western Reference

·        สามารถทำข้อมูลเป็น excel เพื่อนำไปวิเคราะห์และสรุปผลได้   

     ๒.๒     อุปกรณ์ตรวจวัดความแปรปรวนของการเต้นของหัวใจแบบพกพา  รุ่น Smart Pulse

๒.๒.๑  ใช้กับ Smart Pulse Application สำหรับตรวจวัด โดยติดตั้งในโทรศัพท์มือถือ และTablet

๒.๒.๒  Smart Pulse Application สำหรับตรวจวัด มีค่าอ้างอิงทั้งชาวเอเชียและชาวตะวันตก

๒.๒.๓  ดูรายงานผลตรวจจาก Application บนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ หรือ Tablet และส่งแชร์ผลทางระบบออนไลน์ได้  

          ๒.๒.๔  สามารถแสดงผลได้ ๖ ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี

                     และภาษาเยอรมัน

 

.   คุณสมบัติทางเทคนิค

๓.๑   เครื่องตรวจวัดความแปรปรวนการเต้นของหัวใจ รุ่น Max Pulse

 จะมีโปรแกรม Max Pulse General Software  สำหรับตรวจผู้ใหญ่อายุ ๑๘ ปีขึ้นไป  ประกอบด้วย

 ๓.๑.  การตรวจวัดความเครียด (Stress Measurement)

๓.๑.๑.๑     การตรวจด้วยไอคอน การตรวจวัดความเครียด (Stress Measurement) จะตรวจวัดพร้อมกันทั้ง การตรวจวัดความแปรปรวนของการเต้นของหัวใจ ด้วยหลักการวิเคราะห์ Heart Rate Variability  และการตรวจวัดสุขภาพหลอดเลือด ด้วยหลักการวิเคราะห์ Accelerated Photoplethysmograph  (APG)

๓.๑.๑.๒    แสดงรายงานผลทั้ง รายงานผลความเครียด (Stress Report) และรายงานผลสุขภาพหลอดเลือด (Accelerated Photoplethysmograph Report) (ดังข้อ ๓.๑.๒.๓) 

๓.๑.๑.๓    เลือกตรวจวัดได้  ๓ ระดับเวลา คือ ๑ นาที ๓ นาทีและ ๕ นาที 

 

๓.๑.๑.๔    หน้าจอรายงานผลความเครียด (Stress Report) จะสั่งพิมพ์รายงานผลความเครียดและความสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Balance&Stress Report) แสดงผล ดังต่อไปนี้ 

·       อัตราการเต้นของหัวใจเฉลี่ย  (Mean Heart Rate)   

·       การเต้นหัวใจผิดจังหวะ  (Ectopic Beat) 

·       การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ  (ANS Activity)        

·       ระดับความเหนื่อยล้า (Fatique Index) 

·       ค่าเสถียรไฟฟ้าหัวใจ (Electro-Cardiac Stability) 

·       ความสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติ  (ANS Balance)      

·       ความเครียดทางกาย  (Physical Stress)

·       ความเครียดทางจิตใจ (Mental Stress)      

·       ความทนทานต่อความเครียด (Stress Resistance)

·       คะแนนความเครียด (Stress Score)          

·       HRV Tachogram

·       กราฟ TP, VLF, LF และ HF 

·       กราฟ SNS และ PNS

๓.๑.๑.๕   ย้อนดูประวัติผลตรวจ HRV History Chart เทียบผลกันได้ ๕  ครั้ง ย้อนหลัง

๓.๑.๑.๖   สั่งพิมพ์รายงานผล ใช้กระดาษ A๔ และบันทึกเป็นไฟล์ภาพได้

 

๓.๑.   การตรวจวัดสุขภาพหลอดเลือด (Arterial Health Measurement)  

๓.๑.๒.๑. สามารถเลือกตรวจเฉพาะสุขภาพหลอดเลือด ด้วยไอคอน  การตรวจวัดสุขภาพ 

หลอดเลือด (Arterial Health Measurement  ด้วยหลักการ Accelerated 

              Photoplethysmograph (APG)    

         ๓.๑.๒.๒  ใช้เวลาตรวจวัด ๔๕ วินาที  แสดงผลการตรวจเฉพาะรายงานผลสุขภาพหลอดเลือด  

 (Accelerated Photoplethysmograph Report)

๓.๑.๒.๓  หน้าจอ Arterial Health Test Report  จะสั่งพิมพ์รายงานผลสุขภาพหลอดเลือด  

              (Accelerated Photoplethysmograph Report)  แสดงผล ดังต่อไปนี้   

·             การวิเคราะห์คลื่นสัญญาณ (Analysis of Pulse)   

·             อัตราการเต้นของหัวใจเฉลี่ย  (Mean Heart Rate)   

·             Type ชองสภาวะหลอดเลือด (Wave Type)              

·             AE (Arterial Elasticity-ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดแดง) 

·             PE (Peripheral Vessel Elasticity--ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย)

·             การวิเคราะห์สุขภาพหลอดเลือด (Level Analysis)                 

·             คำอธิบาย (Comment)

๓.๑.๒.๔  ย้อนดูประวัติผลตรวจ APG History Chart  เทียบผลกันได้ ๕ ครั้ง ย้อนหลัง

๓.๑.๒.๕  สั่งพิมพ์รายงานผล ใช้กระดาษ A๔ และบันทึกเป็นไฟล์ภาพได้

 

๓.๒     อุปกรณ์ตรวจวัดความแปรปรวนของการเต้นของหัวใจแบบพกพา  รุ่น Smart Pulse

Smart Pulse Application จะประกอบด้วย

๓.๒.๑   Training

๓...    Breathing Training ฝึกหายใจเพื่อผ่อนคลายความเครียด

·        สามารถตั้งระดับการฝึกได้ 5 ระดับ ได้แก่ 5,8,10,12 หรือ15 bpm

·        สามารถตั้งเวลาการฝึกได้ 2-10 นาที

·     แสดงผลการฝึกหายใจ (Breath Analysis) เฉพาะบนหน้าจอ แสดงกราฟการฝึกหายใจ (Breathing Graph) และคะแนนการฝึก (Training Score)

๓...    Meditation การทำสมาธิ

·     เลือกฟังเสียงธรรมชาติที่ต้องการ เพื่อการผ่อนคลาย

·     เลือกตั้งเวลาได้ตามต้องการ 10,20,30 หรือ 45 นาที หรือ 1,2 ชั่วโมง หรือตั้งเวลาเอง หรือไม่ตั้งเวลา

๓.๒.๒   Measurement

   ๓...  Stress ตรวจวัดความเครียดและสุขภาพหลอดเลือดพร้อมกัน สามารถเลือกตรวจโดย

                  ใช้เวลาตรวจ 1 นาที หรือ 2 นาที 45 วินาที

   ๓...  Arterial Health ตรวจวัดสุขภาพหลอดเลือด ใช้เวลาตรวจ 45 วินาที โดยแสดงผล

                  ตรวจเฉพาะสุขภาพหลอดเลือด

๓.๒.๓  Result   รายงานผล Stress/Arterial Health Test ประกอบด้วย

 ๓.๒.๓.๑  ผลอัตราการเต้นของหัวใจและการเต้นหัวใจผิดจังหวะ

 ๓.๒.๓.๒  ผลตรวจความเครียด จะแสดงผลของ  ความเครียดทางกาย (Physical Stress) , ความเครียดทางจิตใจ (Mental Stress) , ระดับความเครียด (Stress Score) , ความสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nerve Balance) และความทนทานต่อความเครียด (Stress Resilience)

 ๓.๒.๓.๓  ผลตรวจสุขภาพหลอดเลือด จะแสดงผลของความยืดหยุ่นของหลอดเลือดแดง (Arterial Elasticity), ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (Peripheral Vessel Elasticity) ,Type ของสภาวะหลอดเลือด (Type of Arterial Health) และระดับสุขภาพหลอดเลือด (Arterial Score)

 

เครื่องตรวจวัดความเครียดและสุขภาพหลอดเลือด รุ่น SA-3000P

 


รุ่น SA-3000P
ตรวจวัดความเครียดและสุขภาพหลอดเลือด สำหรับผู้ใหญ่อายุ 18 ปีขึ้นไป
พร้อมโปรแกรมฝึกหายใจผ่อนคลายความเครียด
สามารถโปรแกรมเป็นภาษาอังกฤษ หรือโปรแกรมภาษาไทย
สามารถเลือกค่าอ้างอิงมาตรฐานเป็น Eastern หรือ Western
สามารถทำรายงานผลเป็น Excel เพื่อนำไปสรุปและวิเคราะห์ผลได้

สถานการณ์ด้านสุขภาพ

 


การตรวจวัดระดับความเครียดและสุขภาพหลอดเลือด
ประเมินความเครียดทางกายใจและความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแดงตีบ
1. สถานการณ์ด้านสุขภาพ
ข้อมูลประเมินสุขภาพจิตคนไทยตลอดปี 2564 พบสัดส่วนผู้มีภาวะเครียดสูง 14.5% เสี่ยงซึมเศร้า 16.8% เสี่ยง
ฆ่าตัวตาย 9.5%
องค์การอนามัยโลกได้ระบุว่า 1 ใน 20 คนของประชากรกำลังป่วยด้วยโรคซึมเศร้า และป่วยซ้ำสูงถึงร้อยละ
50-70 โรคซึมเศร้าเป็นต้นเหตุให้วัยรุ่นฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้น
กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCD เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนทั่วโลกถึง 63% ของสาเหตุการตายทั้งหมด
ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจาก NCD ถึง 75% หรือประมาณ 320,000 คนต่อปี โรคที่พบอันดับหนึ่ง คือ โรค
หลอดเลือดสมอง
รองลงมาคือ โรคหัวใจขาดเลือด
วัยรุ่นไทยอายุ 10-19 ปี เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าสูงถึงร้อยละ 44 และพบเด็กไทยถูกรังแกในสถานศึกษาอันดับ 2
ของโลก มีสัดส่วนนักเรียนถูกเพื่อนรังแกสูงถึงร้อยละ 40 ฝ่ายที่ถูกรังแกมักเครียด ซึมเศร้า หากถูกกดดันรุนแรง
อาจทำร้ายผู้อื่นหรือฆ่าตัวตาย ส่วนคนที่รังแกผู้อื่นก็จะมีปัญหาก้าวร้าวและรุนแรง เป็นปัญหาสังคมต่อไปได้
(ข้อมูลกรมสุขภาพจิต มค.61)
2. หลักการและเหตุผล
วิถีชีวิตในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจ
สังคม วิถีชีวิต รวมถึงสภาพสังคมและสถานการณ์ทั่วโลกมีแนวโน้มตึงเครียดมากขึ้น ทำให้ประชาชนมีปัญหาสุขภาพจิต
มากขึ้น ทั้ง“
ความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า
และมีข้อมูลเกี่ยวกับ
ผู้หายป่วยจากโควิดว่าประมาณ 30-50% ยังมีอาการ Long Covid เช่น เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
ไอ และมีความเครียด ซึมเศร้า ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ซึ่งมีข้อมูลวิจัยหนึ่งในต่างประเทศพบว่า
1 ใน 4 ของผู้
หายจากโควิด19 จะมีความผิดปกติด้านจิตใจ
นอกจากนั้นยังส่งผลให้คนไทยมีพฤติกรรมเนือยนิ่งมากขึ้น การใช้ติดที่-ติดจอ นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์และ
โทรศัพท์มือถือนานๆ ส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งกายใจ โดยเฉพาะนำไปสู่
กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs ได้แก่ เบาหวาน
ไขมันในเลือดสูง อ้วนลงพุง โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขอันดับ 1
โดยเฉพาะโรคหัวใจและ
หลอดเลือด นั้นเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทยและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มวัย โดยความเครียดเป็นปัจจัย
เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจวายมากขึ้นถึงสองเท่า
ดังนั้นดูแลสุขภาพที่ดี ไม่ใช่แค่สุขภาพกายเท่านั้น ต้องรวมถึง
สุขภาพจิตด้วย
ความเครียด พบได้ในคนทุกวัย ทั้งวัยเรียน วัยทำงานและวัยสูงอายุ ทั้งจากการเรียน ปัญหาครอบครัว
การทำงาน การเงิน สุขภาพฯลฯ อาจเครียดเรื้อรังไม่รู้ตัว ไม่สนใจจัดการความเครียดและพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผล
กระทบต่อสุขภาพร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันลดลง ความเครียดยังเป็นสาเหตุสำคัญต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น
ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง ไมเกรน ออฟฟิศซินโดรม และส่งผลต่อสุขภาพจิตใจ เช่น วิตก
กังวล อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้าฯลฯ
มีงานวิจัยพบว่ากว่า 70% ของผู้ป่วยทั่วไปที่มาพบแพทย์มีภาวะเครียดร่วม
ด้วย และผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง




HRV : Heart Rate variability (ความแปรปรวนของการเต้นของหัวใจ) คือ อะไร?

 

HRV เป็นการวัดความแปรปรวนของช่วงเวลาห่างระหว่างจังหวะการเต้นของหัวใจแต่ละครั้งที่ต่อ เนื่องกัน ซึ่งควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ อยู่นอกเหนือการควบคุมของสมองและจิตใจ
ผู้มีสุขภาพดีจะมีค่า HRV สูง ระบบประสาทอัตโนมัติสามารถปรับสมดุลร่างกายได้ดี มีความทนทานต่อความเครียดดี แต่ถ้าพบว่ามีค่า HRV ต่ำ สะท้อนถึงการมีสุขภาพที่ไม่สมบูรณ์ ความทนทานต่อความเครียดไม่ดี