สถานการณ์ด้านสุขภาพ

 


การตรวจวัดระดับความเครียดและสุขภาพหลอดเลือด
ประเมินความเครียดทางกายใจและความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแดงตีบ
1. สถานการณ์ด้านสุขภาพ
ข้อมูลประเมินสุขภาพจิตคนไทยตลอดปี 2564 พบสัดส่วนผู้มีภาวะเครียดสูง 14.5% เสี่ยงซึมเศร้า 16.8% เสี่ยง
ฆ่าตัวตาย 9.5%
องค์การอนามัยโลกได้ระบุว่า 1 ใน 20 คนของประชากรกำลังป่วยด้วยโรคซึมเศร้า และป่วยซ้ำสูงถึงร้อยละ
50-70 โรคซึมเศร้าเป็นต้นเหตุให้วัยรุ่นฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้น
กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCD เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนทั่วโลกถึง 63% ของสาเหตุการตายทั้งหมด
ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจาก NCD ถึง 75% หรือประมาณ 320,000 คนต่อปี โรคที่พบอันดับหนึ่ง คือ โรค
หลอดเลือดสมอง
รองลงมาคือ โรคหัวใจขาดเลือด
วัยรุ่นไทยอายุ 10-19 ปี เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าสูงถึงร้อยละ 44 และพบเด็กไทยถูกรังแกในสถานศึกษาอันดับ 2
ของโลก มีสัดส่วนนักเรียนถูกเพื่อนรังแกสูงถึงร้อยละ 40 ฝ่ายที่ถูกรังแกมักเครียด ซึมเศร้า หากถูกกดดันรุนแรง
อาจทำร้ายผู้อื่นหรือฆ่าตัวตาย ส่วนคนที่รังแกผู้อื่นก็จะมีปัญหาก้าวร้าวและรุนแรง เป็นปัญหาสังคมต่อไปได้
(ข้อมูลกรมสุขภาพจิต มค.61)
2. หลักการและเหตุผล
วิถีชีวิตในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจ
สังคม วิถีชีวิต รวมถึงสภาพสังคมและสถานการณ์ทั่วโลกมีแนวโน้มตึงเครียดมากขึ้น ทำให้ประชาชนมีปัญหาสุขภาพจิต
มากขึ้น ทั้ง“
ความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า
และมีข้อมูลเกี่ยวกับ
ผู้หายป่วยจากโควิดว่าประมาณ 30-50% ยังมีอาการ Long Covid เช่น เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
ไอ และมีความเครียด ซึมเศร้า ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ซึ่งมีข้อมูลวิจัยหนึ่งในต่างประเทศพบว่า
1 ใน 4 ของผู้
หายจากโควิด19 จะมีความผิดปกติด้านจิตใจ
นอกจากนั้นยังส่งผลให้คนไทยมีพฤติกรรมเนือยนิ่งมากขึ้น การใช้ติดที่-ติดจอ นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์และ
โทรศัพท์มือถือนานๆ ส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งกายใจ โดยเฉพาะนำไปสู่
กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs ได้แก่ เบาหวาน
ไขมันในเลือดสูง อ้วนลงพุง โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขอันดับ 1
โดยเฉพาะโรคหัวใจและ
หลอดเลือด นั้นเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทยและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มวัย โดยความเครียดเป็นปัจจัย
เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจวายมากขึ้นถึงสองเท่า
ดังนั้นดูแลสุขภาพที่ดี ไม่ใช่แค่สุขภาพกายเท่านั้น ต้องรวมถึง
สุขภาพจิตด้วย
ความเครียด พบได้ในคนทุกวัย ทั้งวัยเรียน วัยทำงานและวัยสูงอายุ ทั้งจากการเรียน ปัญหาครอบครัว
การทำงาน การเงิน สุขภาพฯลฯ อาจเครียดเรื้อรังไม่รู้ตัว ไม่สนใจจัดการความเครียดและพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผล
กระทบต่อสุขภาพร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันลดลง ความเครียดยังเป็นสาเหตุสำคัญต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น
ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง ไมเกรน ออฟฟิศซินโดรม และส่งผลต่อสุขภาพจิตใจ เช่น วิตก
กังวล อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้าฯลฯ
มีงานวิจัยพบว่ากว่า 70% ของผู้ป่วยทั่วไปที่มาพบแพทย์มีภาวะเครียดร่วม
ด้วย และผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง




0 comments: